วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

การบำบัด ผ่อนคลาย ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหย

การบำบัด ผ่อนคลาย ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหย

( บทความ คัดสรร )
Aroma therapy หรือ สุคนธบำบัด


"AROMA ( สุคนธา )" แปลว่า กลิ่นหอม
และ "THERAPY " คือการบำบัดรักษาดังนั้น
สุคนธบำบัดจึงหมายถึง การบำบัดรักษา เพื่อให้บรรเทาหรือทุเลาอาการต่าง ๆ ด้วยเครื่องหอม(1)เครื่องหอมที่มีประสิทธิผลดีมาจากธรรมชาติ ถึงแม้จะมีความพยายามนำสารสังเคราะห์เลียนแบบธรรมชาติมาใช้แต่ก็ไม่สู้จะประสบความสำเร็จ เครื่องหอมส่วนใหญ่จะเน้นไปถึงน้ำมันหอมระเหย (คือ น้ำมันที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของ พืชและสมุนไพร เช่น ดอก ใบ ราก ผล เปลือกไม้ ยางไม้ หรือ เรซิน ฯลฯ)


ประวัติความเป็นม ได้มีการใช้เครื่องหอมในการรักษาโรค ทำให้สงบหรือกระตุ้นมานานกว่า 6000 ปีแล้ว แต่คำว่า "Aroma therapy" เป็นที่รู้จักกัน เมื่อ Gattefosse นักเคมีชาวฝรั่งเศสถูกไฟลวกที่มือในขณะ ที่กลั่นน้ำมันหอมระเหย ทำให้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำมันลาเวนเดอร์สามารถช่วยให้หายเร็วและป้องกันแผลเป็นได้ เขาจึงศึกษาน้ำมันหอมระเหยอย่างจริงจังและยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยดีกว่าสารสังเคราะห์หรือสารเคมีแต่ละตัวที่แยกออกมาจากน้ำมันหอมระเหยเอง Dr.Jean Valnet ซึ่งเป็นทั้งหมอและนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้น้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคบางชนิดและโรคประสาท ซึ่งได้พิมพ์หนังสือเสนอผลงานออกมาชื่อ "The Practice of Aromatherapy" ซึ่งทำให้มีการตื่นตัวในการบำบัดโดย เครื่องหอม
Madame Marguerite Maury ได้ประยุกต์งานวิจัยของ Dr.Jean Valnet ไปในทางบำรุงความงาม เธอพบว่าถ้าเลือกน้ำหอมและผสมให้เหมาะสมก็ จะได้ยามากมายเนื่องจากAromatherapy มีรากฐานอยู่กับความเชื่อถือของชาวบ้านจึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุน ในปีพ.ศ. 2525 Olfactory Research Fund ได้ตั้งนิยาม "aromachology " ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาและเครื่องหอมและได้ให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลของกลิ่นต่อการรับกลิ่น และพฤติกรรมของมนุษย์
บางท่านอาจเข้าใจว่า "Aromatherapy" เป็นการบำบัดโดยนาสิกสัมผัสและอารมณ์แต่ตามความเป็นจริงนอกจากกลิ่นแล้ว น้ำมันหอมระเหยแต่ละตัวยังมีสารมากมายหลายชนิดเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำปฏิกริยาโดยตรงกับสารเคมีของร่างกาย ทำให้มีผลต่ออวัยวะหรือระบบต่าง ๆ ของร่างกายเนื่องจาก น้ำมันหอมระเหยเป็นกรรมวิธีหนึ่งของการสกัดสมุนไพร ดังนั้นอาจจัดได้ว่าสุคนธบำบัดเป็นการรักษาด้วยสมุนไพร ถึงแม้กรรมวิธีการผลิตและวิธีการใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง

การออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยมีสามชนิด ได้แก่1. โดยน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่กระแสโลหิตไปทำปฏิกริยากับฮอร์โมน เอนไซม์ ฯลฯ การออกฤทธิ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยน้ำมันหอมระเหยจะซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ไปทำ ปฏิกิริยากับฮอร์โมนและเอนไซม์ เป็นต้น2. ทำงานของร่างกาย เช่น ไปกระตุ้นหรือ ระงับระบบประสาท ทำให้มีผลต่อการทำงานของร่างกาย เช่น กลิ่นแคลรีเซจ (clary sage) และกลิ่นเกรพฟรุต (grape fruit) จะทำให้สมองหลั่งสารชนิดหนึ่งเรียกว่า enkephalins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเจ็บปวด เป็นต้น3. ฤทธิ์ทางด้านจิตใจโดยเมื่อสูดดมกลิ่นเข้าไปก็จะมีปฏิกริยากับกลิ่นนั้น ๆ โดยน้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลต่อจิตใจเรามานาน คือ เมื่อสูดดมกลิ่นหอมเข้าไปก็จะมีปฏิกิริยากับกลิ่น นั้น ๆ แล้วแสดงออกในรูปของอารมณ์หรือความรู้สึก ผลของกลิ่นที่มีต่อแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ บุคลิก บรรยากาศรอบ ๆ ตัวขณะดมกลิ่น นอกจากนี้ ยังขึ้น อยู่กับความสามารถในการรับกลิ่นที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน บางคนอาจได้กลิ่นชนิดหนึ่งมาก ในขณะ ที่บางคนได้กลิ่นชนิดเดียวกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้กลิ่นเลย



วิธีการใช้สุคนธบำบัด(1)กฎทั่วไปของสุคนธบำบัด คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยเฉพาะภายนอกเท่านั้นเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ก่อการระคายเคืองและทำลายต่อเยื่อบุในจมูกและในกระเพาะอาหาร รูปแบบของ น้ำมันหอมระเหยที่จะใช้ภายนอกคือนำมาผสมกับน้ำมันหรือขี้ผึ้งน้ำมันหอมระเหยจะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังหรือค่อยๆระเหยเพื่อสูดดมเข้าไป เมื่อสูดดมเข้าไปจะมีผลต่ออารมณ์หรือความรู้สึก
และในขณะเดียวกันก็มีผลต่อระบบการทำงานในร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากสมุนไพรทั่ว ๆ ไปที่อาจจะเหมาะเมื่อใช้ภายในแต่ไม่ให้ผลต่ออารมณ์และความรู้สึก


ประเภทของ Aromatherapy สามารถแบ่งตามการนำไปใช้ ดังนี้ 1. Cosmetic Aromatherapy สำหรับใช้เป็นเครื่องสำอาง โดยใช้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในรูปของครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า หรืออาจเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหยในการอาบน้ำ โดยหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังและได้สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในขณะเดียวกัน2. Massage Aromatherapy สำหรับ การนวด โดยนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการนวด วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหยประกอบกับการนวดสัมผัส ทำให้ น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังได้ดี ปกติการนวดอย่างเดียวทำให้รู้สึกสบาย เมื่อได้ผสมผสานกับคุณสมบัติพิเศษของน้ำมันหอมระเหยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น3. Olfactory Aromatherapy เป็นการ สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย โดยไม่มีการสัมผัส ผ่านผิวหนัง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การสูดดมน้ำมันหอมระเหยโดยตรง (inhalation) และการผสมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอของน้ำมันหอมระเหยนั้น (vaporization) ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบางและผู้ที่เป็นหืดหอบ หรืออาจจะใช้เตาหอม (arona lamp) ลักษณะเป็นภาชนะ ดินเผาหรือเซรามิก ด้านบนเป็นแอ่ง เล็ก ๆ สำหรับใส่น้ำและมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่เทียนเพื่อให้ความร้อน เวลาใช้ให้หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำ และความร้อนจะช่วยส่งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยให้กระจายไปทั่วห้อง



ฤทธิ์และวิธีใช้น้ำมันหอมระเหย1. ทางผิวหนัง - ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู น้ำมัน ลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว - แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันลาเวนเดอร์ - ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันยางไม้หอม - ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อสมานแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันเจอเรเนียม - ระงับกลิ่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมัน ตะไคร้ - ไล่แมลงและฆ่าปาราสิท พวก เหาหมัด เห็บ ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์

2. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ น้ำมันหอมระเหยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันที่ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้นแต่มีผลต่ออวัยวะภายในด้วยความร้อนทำให้เส้นโลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ - ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว - เพิ่มความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์ - ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันมะนาว

3. ระบบหายใจน้ำมันหอมระเหยเหมาะที่จะรักษา การติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอด เพราะใช้สูดดมตัวยาก็จะผ่าน ไปถึงปอดซึ่งก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่าให้ยาโดยการรับประทาน - ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันไม้จันทน์ และน้ำมัน ยี่หร่า - คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมัน มะกรูด - ฆ่าเชื้อสำหรับ ไข้หวัดใหญ่ คอเจ็บ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส และ น้ำมันพิมเสน - แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม - ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่ - ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่ - ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม

4. ระบบย่อยอาหารน้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน - แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่นน้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม - ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา
- ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและ กระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่ - ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิงและน้ำมันกระเทียม

5. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อน้ำมันหอมระเหยมีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน - แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันมะลิ และน้ำมันลาเวนเดอร์ - ขับระดู สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันสะระแหน่ - ระงับเชื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันกำยาน น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันมะกรูด - ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และน้ำมันตะไคร้ - ปลุกกำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยมีความรู้สึก เช่น น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันกระวาน น้ำมัน มะลิ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และน้ำมันไม้จันทน์ - ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร - ฤทธิ์ต่อไต กระเพาะปัสสาวะ และระบบปัสสาวะ ยังไม่มีรายงาน


6. ระบบภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว - ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกระเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และน้ำมันกานพลู - ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกระเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และน้ำมันยูคาลิปตัส

7. ระบบประสาทได้มีการพิสูจน์แล้วว่าน้ำมันหลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และน้ำมันลาเวนเดอร์ มีผลในการสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกระเพรา น้ำมันกานพลู และน้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท

8. จิตใจน้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ในศาสนพิธีและพิธีกรรมต่าง ๆ




เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอามณ์ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการดังนี้


- วิธีที่ใช้
- ปริมาณที่ใช้
- สภาวะที่กำลังใช้อยู่
- สภาวะของบุคคลที่ใช้ (อายุ เพศ บุคคลิก)
- อารมณ์ในขณะที่จะใช้
- ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
- ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง

ดังนั้นเราต้องจัดกลิ่นให้เหมาะกับผู้ใช้น้ำมันหอมระเหยสามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับความต้องการของบุคคล กุหลาบ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะดอกกุหลาบเองก็หมายถึง ความงาม ความรักและทางด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับนิยายและศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกนำไปใช้รักษาเกี่ยวกับผิวหนัง คุมประจำเดือนเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดบริสุทธิ์ และบำรุงหัวใจดังนั้นเมื่อเราได้กลิ่นกุหลาบก็จะเชื่อมโยงเราไปสู่ความสัมพันธ์เหล่านี้ซึ่งจะมีผลต่อจิตใจ และตามมาด้วยผลต่อร่างกายซึ่งผลเหล่านี้ ได้ถูกครอบคลุมอยู่ในจิตใจของเขาอยู่แล้ว






การใช้น้ำมันหอมระเหยที่บ้าน(2), (3)
เลือกให้เหมาะกับสภาพและอารมณ์ของคนไข้ ผสมกับน้ำมันอื่น เช่น น้ำมันแอลมอนด์หรือน้ำมันเมล็ด องุ่น ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ใช้อยู่ระหว่าง 1-3 % ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการแต่ต้องให้แน่ใจว่า น้ำมันได้ถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและเข้าสู่กระแสโลหิต โดยหลักทั่ว ๆ ไป โรคปวดในข้อ หรือ อาหารไม่ ย่อย ต้องใช้ความเข้มข้นมากกว่าโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์และประสาทการนวดด้วยตัวเองต้องนวดเป็น จุดไปโดยเฉพาะ เท้า มือ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ทำให้ไม่สบายเช่นนวดท้องตามเข็มนาฬิกาด้วย น้ำมันสะระแหน่ที่เจือจางแล้ว เพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร ใช้นิ้วมือนวดเบา ๆ เป็นวงกลมก็เป็นการเพียงพอที่จะให้น้ำมันซึมซาบเข้าผิวหนัง น้ำมันกุหลาบเหมาะกับผิวหนังที่แห้ง หรือเหี่ยวย่น น้ำมันมะกรูดหรือน้ำมันมะนาวช่วยรักษาสิวและผิวหน้าที่มันมาก น้ำมันหอมระเหยสองสามหยดผสมกับครีมหรือโลชั่นธรรมดา หรือเติมไปกับที่พอกหน้าเช่น ข้าวโอ้ต น้ำผึ้งหรือ ดิน กับผลไม้ต่าง ๆ ในบางกรณี เช่น ติดเชื้อเฮอร์ปีส์ หรือน้ำกัดเท้าควรใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอลล์มากกว่าครีม โดยนำน้ำมัน หอมระเหย 6 หยดผสมกับไอโซโปรปิลแอลกอฮอลล์หรือเหล้าวอดก้า 5 ซีซี ทำให้เจือจางด้วยน้ำต้มเดือด และทิ้งให้เย็น 1 ลิตร ได้ผลดีต่อการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อลดการปวดหรืออักเสบ การประคบร้อน ทำโดยเทน้ำร้อนจัด ๆ ลงในอ่าง เติมน้ำมันหอมระเหย 4-5 หยด เอาผ้าที่พับแล้วจุ่มลงไป บีบน้ำออกพอ หมาด ๆ วางลงบนส่วนที่ต้องการจนรู้สึกผ้าเย็นก็ทำซ้ำวิธีนี้มีประโยชน์ต่อการปวดหลัง ปวดตามข้อและ กระดูก บวม ปวดหู และปวดฟัน การประคบเย็น วิธีการเช่นเดียวกันแต่ใช้น้ำเย็นแทนน้ำร้อนเหมาะสำหรับโรคปวดศีรษะ เคล็ด เครียด และการบวมอักเสบ วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการบำรุงผม ก็คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยประมาณ 3% ผสมกับน้ำมันมะกอกกับโจโจบา หรือน้ำมันแอลมอนด์ นวดให้ซึมหนังศีรษะ และห่อด้วยผ้าขนหนูอุ่น ๆ ประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง น้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันแคโมมิลล์ ช่วยปรับสภาพและทำให้ผมงอก น้ำมันลาเวนเดอร์ช่วยไล่เหา น้ำมันมะกรูดช่วยคุมรังแค การใช้ที่เผาน้ำมันหรือที่กระจายกลิ่นหอมเป็นวิธีที่ดีที่จะให้ห้องมีกลิ่นหอมแทนการใช้ธูปหอม ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นหรือควันแต่ต้องวางในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง อาจจะหยดน้ำมัน หอมระเหย ลง 5-10 หยดที่ขอบโป๊ะหลอดไฟฟ้าหรือหยดลงในชามน้ำที่วางบนเครื่องที่ให้ความร้อน น้ำมันตะไคร้หรือตะไคร้หอมใช้ไล่แมลงและขจัดกลิ่นของบุหรี่ น้ำมันกำยาน หรือน้ำมันยูคาลิปตัสใช้ ในห้องนอนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการหายใจขัดหรือแก้ไอในเด็ก อาจใช้อบหน้าได้ โดยใช้น้ำมันมะนาวแทนซึ่งจะช่วยเปิดรูที่อุดตันและลบริ้วรอยบนใบหน้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยสามารถถูกดูดซึมเข้าในร่างกายได้ง่ายจึงมีผลต่ออวัยวะภายใน โดยการใช้ภายนอก ในกรณีที่เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเกิดจากการสะสมสารพิษที่ข้อต่อ การใช้น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันไพล น้ำมันนิเปอร์ หรือน้ำมันเบิร์ชสามารถไปชำระล้างพิษ และในขณะเดียวกันก็ลดการปวดและอักเสบได้
ปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่หาวิธีที่จะรักษาสุขภาพของตนเองโดยปรับตัวเองไปสู่ธรรมชาติมากที่สุดAromatherapy เป็นวิธีหนึ่งที่เขาจะดูแลสุขภาพของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งหมอนอกจาก นี้ยังมี Aroma Technology โดยใช้เครื่องมือควบคุมการปล่อยเครื่องหอมเพื่อให้บรรยากาศดีหรือเพื่อฆ่าเชื้อตามบ้าน สำนักงานโรงแรม ฯลฯ (3-5)
บำบัดรักษาทางธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจึงมีผู้นำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ประโยชน์ในการรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยผ่านการศึกษาค้นคว้ามาแล้วหลายช่วงเวลา สั่งสมให้คุณค่า ความรู้ทางด้าน Aromatherapy มีสูงมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะได้นำผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มาสนับสนุนข้อมูลที่มีมาแต่เดิม และเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ Aromatherapy ในการนำมาบำบัดรักษามากยิ่งขึ้น



ดร. ประคองศิริ บุญคง ส่วนวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ- โสมนภา พรายงาม วิจัย เภสัชเคมีภัณฑ์ หนังสืออ้างอิง
1. วนิดา จิตต์หมั่น และ ทวีศักดิ์ สุวคนธ์ กลยุทธ์คลายเครียด เอกสารการประชุมวิชาการเภสัชกรรม ชุมนุม ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2541.2. ลลิตา วีระเสถียร. 2541. การบำบัดด้วยความหอม. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร. 2541; 23(1): 52-57. 3. Lawless J. The Encyclopaedia of Essential Oil. Barnes & Noble Inc, 1995: 226.4. Peltier M. DCI. 1998; 162(3): 22-24.5. Buckle J. Aromatherapy. Nursing time. 1993; 89(2): 32-35. 6. Anon N-Z-Pharm 1993; 13: 9-10.7. http://www.aromaweb.com

ไม่มีความคิดเห็น: