วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เท้าเหม็น หายได้ด้วย ผงสมุนไพรอบตัว อมฤต

โรคเท้าเหม็น (pitted keratolysis)

โรคเท้าเหม็นมักพบในประเทศเขตร้อน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่พบได้บ่อยกว่าในผู้ชาย เพราะมีเหงื่อออกที่ฝ่าเท้ามากกว่า และผู้ชายมักสวมถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา อาการสำคัญของโรคนี้ที่พบบ่อยสุดถึงร้อยละ 90 คือ เท้ามีกลิ่นเหม็นมาก นับเป็นการทำลายบุคลิกภาพ อาการรองลงมาที่พบร้อยละ 70 คือ เวลาถอดถุงเท้าจะรู้สึกว่าถุงเท้าติดกับฝ่าเท้า ส่วนอาการคันนั้นพบได้น้อยคือ ร้อยละ 8
โรคเท้าเหม็นพบบ่อยในผู้ที่มีเหงื่อออกที่เท้ามากโดยเฉพาะผู้ที่ต้องใส่รองเท้าอับ ๆ ทั้งวัน เมื่อผิวหนังชั้นขี้ไคลของฝ่าเท้าเปียกชื้นจากเหงื่อ หรือจากการที่เท้าต้องเปียกชื้น จะทำให้ผิวหนังยุ่ยและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อMicrococcus sedentarius ทำให้เท้ามีกลิ่นเหม็น


ลักษณะของโรคเท้าเหม็นจะเห็นเป็นหลุมเล็กๆ ที่ฝ่าเท้า บางครั้งหลุมอาจรวมตัวกันเป็นแอ่งเว้าตื้นๆ ดูคล้ายแผนที่ มักพบหลุมเหล่านี้ตามฝ่าเท้าที่รับน้ำหนัก และง่ามนิ้วเท้า

การดูแลไม่ให้เป็นโรคเท้าเหม็น อย่าให้เท้าเปียกชื้น อับ เพราะจะเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้ พยายามดุแลเท้าให้สะอาดและแห้งเสมอ อาจใช้แป้งทาที่เท้าเป็นประจำก็ได้ แต่ถ้าเป็นโรคเท้าเหม็นแล้วใช้แป้งโรยเท้าอย่างเดียวไม่หายครับ หนำซ้ำถ้าใช้แป้งธรรมดาโรยเท้ากลับเหนอะและมีกลิ่นเหม็นเลี่ยน ๆ (กลิ่นเท้าเหม็นผสมกลิ่นแป้ง) ถ้าจะใช้แป้งโรยแนะนำให้ใช้แป้ง foot powder ก็ได้ แป้งชนิดนี้มีลักษณะคล้ายแป้งฝุ่นทาตัวนั่น เพียงแต่เนื้อแป้งอาจหนากว่า และดูดซึมน้ำได้ดีกว่า การโรยแป้งทำให้ผิวที่เท้าแห้ง ไม่เฉอะแฉะ จึงลดอาการระคายเคืองและช่วยให้เกิดความรู้สึกเย็บสบาย ถ้าไปหาหมอ เขาจะให้ยาทาฆ่าเชื้อมาทา หรือถ้าใช้ยาปฎิชีวนะรักษา แต่ราคาค่อนข้างแพง ลองสืบหาข้อมูลเพิ่มเติมได้http://women.sanook.com/health/tips/tips_14106.php

ถ้าเป็นยังไม่มากวิธีรักษาดังนี้ครับ(แบบไม่เปลืองตังทำได้เองที่บ้าน)

อันดับแรก รองเท้าและถุงเท้าอันเป็นตัวเก็บเชื้อพวกนี้เป็นอย่างดี ต้องหมั่นซักและผึ่งแดดครับ
ประการต่อมา หากเท้าของคุณมีลักษณะเป็นร่องเล็ก ๆที่ฝ่าเท้า หรือส้นเท้าแตกด้วยต้องทำความสะอาดเท้าอย่างดีครับ นอกจากล้างด้วยสบู่ เดดตอล(หรือสบู่อะไรก็ได้เน้นฆ่าเชื้อโรค) แล้ว ต้องใช้แปรงขัดให้สะอาดครับ
ในตอนเย็นหลังเลิกงาน หลังทำความสะอาดเท้าแล้ว ให้แช่เท้าในน้ำอุ่น ผสมน้ำส้มสายชู
หรือแบคกิ้งโซดาก็ได้ครับ ลองทำแบบนี้ติดต่อสักสามสี่วัน ถ้าไม่หาย ก็ลองซื้อสมุนไพรมาใช้ครับ


ในการใช้สมุนไพร อมฤต วิธีใช้ หลังจากทำความสะอาดเท้าแล้ว ให้แช่เท้าในน้ำอุ่นผสมสมุนไพรผง ในสมุนไพรอบตัวแช่เท้าอมฤตสูตรนี้มีสมุนไพรหลายตัวที่ทำหน้าที่ ขจัดเชื้อแบททีเรียที่เป็นสาเหตุ อาทิ ไพล พิมเสน การบูร ผิวมะกรูด ใบหนาด ฯลฯ
แช่เท้าในน้ำอุ่นผสม อมฤตผงสุนไพรอบตัวแช่เท้าประมาณ 2 ช้อนโต๊ะเป็นประจำทุกวัน ก่อนนอน
ประมาณ หนึ่งสัปดาห์ นอกจากจะแก้ปัญหาอาการเท้าเหม็นแล้ว ยังช่วยผ่อนคลาย ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

การบำบัด ผ่อนคลาย ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหย

การบำบัด ผ่อนคลาย ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหย

( บทความ คัดสรร )
Aroma therapy หรือ สุคนธบำบัด


"AROMA ( สุคนธา )" แปลว่า กลิ่นหอม
และ "THERAPY " คือการบำบัดรักษาดังนั้น
สุคนธบำบัดจึงหมายถึง การบำบัดรักษา เพื่อให้บรรเทาหรือทุเลาอาการต่าง ๆ ด้วยเครื่องหอม(1)เครื่องหอมที่มีประสิทธิผลดีมาจากธรรมชาติ ถึงแม้จะมีความพยายามนำสารสังเคราะห์เลียนแบบธรรมชาติมาใช้แต่ก็ไม่สู้จะประสบความสำเร็จ เครื่องหอมส่วนใหญ่จะเน้นไปถึงน้ำมันหอมระเหย (คือ น้ำมันที่สกัดได้จากส่วนต่างๆของ พืชและสมุนไพร เช่น ดอก ใบ ราก ผล เปลือกไม้ ยางไม้ หรือ เรซิน ฯลฯ)


ประวัติความเป็นม ได้มีการใช้เครื่องหอมในการรักษาโรค ทำให้สงบหรือกระตุ้นมานานกว่า 6000 ปีแล้ว แต่คำว่า "Aroma therapy" เป็นที่รู้จักกัน เมื่อ Gattefosse นักเคมีชาวฝรั่งเศสถูกไฟลวกที่มือในขณะ ที่กลั่นน้ำมันหอมระเหย ทำให้ค้นพบโดยบังเอิญว่าน้ำมันลาเวนเดอร์สามารถช่วยให้หายเร็วและป้องกันแผลเป็นได้ เขาจึงศึกษาน้ำมันหอมระเหยอย่างจริงจังและยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยดีกว่าสารสังเคราะห์หรือสารเคมีแต่ละตัวที่แยกออกมาจากน้ำมันหอมระเหยเอง Dr.Jean Valnet ซึ่งเป็นทั้งหมอและนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้น้ำมันหอมระเหยในการรักษาโรคบางชนิดและโรคประสาท ซึ่งได้พิมพ์หนังสือเสนอผลงานออกมาชื่อ "The Practice of Aromatherapy" ซึ่งทำให้มีการตื่นตัวในการบำบัดโดย เครื่องหอม
Madame Marguerite Maury ได้ประยุกต์งานวิจัยของ Dr.Jean Valnet ไปในทางบำรุงความงาม เธอพบว่าถ้าเลือกน้ำหอมและผสมให้เหมาะสมก็ จะได้ยามากมายเนื่องจากAromatherapy มีรากฐานอยู่กับความเชื่อถือของชาวบ้านจึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุน ในปีพ.ศ. 2525 Olfactory Research Fund ได้ตั้งนิยาม "aromachology " ซึ่งเกี่ยวกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยาและเครื่องหอมและได้ให้ทุนวิจัยเกี่ยวกับอิทธิพลของกลิ่นต่อการรับกลิ่น และพฤติกรรมของมนุษย์
บางท่านอาจเข้าใจว่า "Aromatherapy" เป็นการบำบัดโดยนาสิกสัมผัสและอารมณ์แต่ตามความเป็นจริงนอกจากกลิ่นแล้ว น้ำมันหอมระเหยแต่ละตัวยังมีสารมากมายหลายชนิดเป็นองค์ประกอบซึ่งจะทำปฏิกริยาโดยตรงกับสารเคมีของร่างกาย ทำให้มีผลต่ออวัยวะหรือระบบต่าง ๆ ของร่างกายเนื่องจาก น้ำมันหอมระเหยเป็นกรรมวิธีหนึ่งของการสกัดสมุนไพร ดังนั้นอาจจัดได้ว่าสุคนธบำบัดเป็นการรักษาด้วยสมุนไพร ถึงแม้กรรมวิธีการผลิตและวิธีการใช้อาจจะแตกต่างกันบ้าง

การออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยมีสามชนิด ได้แก่1. โดยน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่กระแสโลหิตไปทำปฏิกริยากับฮอร์โมน เอนไซม์ ฯลฯ การออกฤทธิ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยน้ำมันหอมระเหยจะซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ไปทำ ปฏิกิริยากับฮอร์โมนและเอนไซม์ เป็นต้น2. ทำงานของร่างกาย เช่น ไปกระตุ้นหรือ ระงับระบบประสาท ทำให้มีผลต่อการทำงานของร่างกาย เช่น กลิ่นแคลรีเซจ (clary sage) และกลิ่นเกรพฟรุต (grape fruit) จะทำให้สมองหลั่งสารชนิดหนึ่งเรียกว่า enkephalins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเจ็บปวด เป็นต้น3. ฤทธิ์ทางด้านจิตใจโดยเมื่อสูดดมกลิ่นเข้าไปก็จะมีปฏิกริยากับกลิ่นนั้น ๆ โดยน้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลต่อจิตใจเรามานาน คือ เมื่อสูดดมกลิ่นหอมเข้าไปก็จะมีปฏิกิริยากับกลิ่น นั้น ๆ แล้วแสดงออกในรูปของอารมณ์หรือความรู้สึก ผลของกลิ่นที่มีต่อแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ บุคลิก บรรยากาศรอบ ๆ ตัวขณะดมกลิ่น นอกจากนี้ ยังขึ้น อยู่กับความสามารถในการรับกลิ่นที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน บางคนอาจได้กลิ่นชนิดหนึ่งมาก ในขณะ ที่บางคนได้กลิ่นชนิดเดียวกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้กลิ่นเลย



วิธีการใช้สุคนธบำบัด(1)กฎทั่วไปของสุคนธบำบัด คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยเฉพาะภายนอกเท่านั้นเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยมีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ก่อการระคายเคืองและทำลายต่อเยื่อบุในจมูกและในกระเพาะอาหาร รูปแบบของ น้ำมันหอมระเหยที่จะใช้ภายนอกคือนำมาผสมกับน้ำมันหรือขี้ผึ้งน้ำมันหอมระเหยจะถูกดูดซึมผ่านผิวหนังหรือค่อยๆระเหยเพื่อสูดดมเข้าไป เมื่อสูดดมเข้าไปจะมีผลต่ออารมณ์หรือความรู้สึก
และในขณะเดียวกันก็มีผลต่อระบบการทำงานในร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากสมุนไพรทั่ว ๆ ไปที่อาจจะเหมาะเมื่อใช้ภายในแต่ไม่ให้ผลต่ออารมณ์และความรู้สึก


ประเภทของ Aromatherapy สามารถแบ่งตามการนำไปใช้ ดังนี้ 1. Cosmetic Aromatherapy สำหรับใช้เป็นเครื่องสำอาง โดยใช้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในรูปของครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า หรืออาจเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหยในการอาบน้ำ โดยหยดน้ำมันหอมระเหยประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำอุ่นจะช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังและได้สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในขณะเดียวกัน2. Massage Aromatherapy สำหรับ การนวด โดยนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการนวด วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหยประกอบกับการนวดสัมผัส ทำให้ น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังได้ดี ปกติการนวดอย่างเดียวทำให้รู้สึกสบาย เมื่อได้ผสมผสานกับคุณสมบัติพิเศษของน้ำมันหอมระเหยด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น3. Olfactory Aromatherapy เป็นการ สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย โดยไม่มีการสัมผัส ผ่านผิวหนัง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การสูดดมน้ำมันหอมระเหยโดยตรง (inhalation) และการผสมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอของน้ำมันหอมระเหยนั้น (vaporization) ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบางและผู้ที่เป็นหืดหอบ หรืออาจจะใช้เตาหอม (arona lamp) ลักษณะเป็นภาชนะ ดินเผาหรือเซรามิก ด้านบนเป็นแอ่ง เล็ก ๆ สำหรับใส่น้ำและมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่เทียนเพื่อให้ความร้อน เวลาใช้ให้หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำ และความร้อนจะช่วยส่งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยให้กระจายไปทั่วห้อง



ฤทธิ์และวิธีใช้น้ำมันหอมระเหย1. ทางผิวหนัง - ระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันไทม์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู น้ำมัน ลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว - แก้อาการอักเสบ สำหรับแผลพุพอง บาดแผลติดเชื้อ กระทบกระแทก ฟกช้ำ ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันลาเวนเดอร์ - ฆ่าเชื้อรา โรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันยางไม้หอม - ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อสมานแผล เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันเจอเรเนียม - ระงับกลิ่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก ทำความสะอาดบาดแผล เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันไทม์ และน้ำมัน ตะไคร้ - ไล่แมลงและฆ่าปาราสิท พวก เหาหมัด เห็บ ยุง มด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระเทียม น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันกานพลู และน้ำมันไม้ซีดาร์

2. ระบบการไหลเวียน กล้ามเนื้อ และข้อต่อ น้ำมันหอมระเหยถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ง่ายทางผิวหนังและเยื่อบุทำให้กระจายไปทั่วร่างกาย น้ำมันที่ทาแล้วร้อนไม่มีผลเพียงแต่การไหลเวียนของโลหิตเท่านั้นแต่มีผลต่ออวัยวะภายในด้วยความร้อนทำให้เส้นโลหิตขยายจึงมีผลในการลดอาการบวมน้ำ - ลดความดันโลหิต ความเครียด ฯลฯ เช่น น้ำมันกระดังงา น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันมะนาว - เพิ่มความดัน สำหรับคนที่มีโลหิตไหลเวียนไม่ดี โรคหิมะกัดเท้า เซื่องซึม ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสะระแหน่ และน้ำมันลาเวนเดอร์ - ปรับการไหลเวียนของโลหิต สำหรับแก้บวม อักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันมะนาว

3. ระบบหายใจน้ำมันหอมระเหยเหมาะที่จะรักษา การติดเชื้อทางจมูก ลำคอ และปอด เพราะใช้สูดดมตัวยาก็จะผ่าน ไปถึงปอดซึ่งก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็วกว่าให้ยาโดยการรับประทาน - ขับเสมหะ สำหรับหวัด ไซนัส ไอ ฯลฯ เช่น น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันสน น้ำมันไม้จันทน์ และน้ำมัน ยี่หร่า - คลายกล้ามเนื้อกระตุกในโรคหืด ไอแห้ง ไอกรน ฯลฯ เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมัน มะกรูด - ฆ่าเชื้อสำหรับ ไข้หวัดใหญ่ คอเจ็บ ต่อมทอนซิลอักเสบ ฯลฯ เช่น น้ำมันสน น้ำมันยูคาลิปตัส และ น้ำมันพิมเสน - แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม - ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา และน้ำมันสะระแหน่ - ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและกระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่ - ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม

4. ระบบย่อยอาหารน้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับระบบนี้ค่อนข้างมีขอบเขตจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รับประทาน - แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเนื่องจากปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ฯลฯ เช่นน้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิง และน้ำมันกระเทียม - ขับลมและแก้ปวดท้องเนื่องจากมีกรดมาก คลื่นไส้ เช่น น้ำมันกะเพรา
- ขับน้ำดี เพื่อเพิ่มน้ำดีและ กระตุ้นการทำงานของถุงน้ำดี เช่นน้ำมันลาเวนเดอร์ และน้ำมันสะระแหน่ - ทำให้เจริญอาหาร เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันส้ม น้ำมันขิงและน้ำมันกระเทียม

5. ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อน้ำมันหอมระเหยมีผลต่อระบบนี้โดยการดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตหรืออาจจะไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน - แก้กล้ามเนื้อเกร็ง สำหรับปวดท้องประจำเดือน ตอนใกล้คลอด ฯลฯ เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันมะลิ และน้ำมันลาเวนเดอร์ - ขับระดู สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนน้อยหรือไม่มี เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ และน้ำมันสะระแหน่ - ระงับเชื้อและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น น้ำมันแคโมมิลล์ น้ำมันกำยาน น้ำมันกุหลาบ และน้ำมันมะกรูด - ขับน้ำนม เช่น น้ำมันยี่หร่า น้ำมันมะลิ และน้ำมันตะไคร้ - ปลุกกำหนัดสำหรับกามตายด้านหรือไม่ค่อยมีความรู้สึก เช่น น้ำมันพริกไทดำ น้ำมันกระวาน น้ำมัน มะลิ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันกระดังงา และน้ำมันไม้จันทน์ - ลดความกำหนัด เช่น น้ำมันการบูร - ฤทธิ์ต่อไต กระเพาะปัสสาวะ และระบบปัสสาวะ ยังไม่มีรายงาน


6. ระบบภูมิคุ้มกันส่วนใหญ่น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาว - ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทำให้ไม่เป็นหวัด เช่น น้ำมันเขียว น้ำมันกระเพรา น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันยูคาลิปตัส น้ำมันการบูร และน้ำมันกานพลู - ใช้ลดไข้ เช่น น้ำมันกระเพรา น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันมะนาว และน้ำมันยูคาลิปตัส

7. ระบบประสาทได้มีการพิสูจน์แล้วว่าน้ำมันหลายชนิดมีผลต่อระบบประสาท เช่น น้ำมันไม้จันทน์ น้ำมันมะกรูด และน้ำมันลาเวนเดอร์ มีผลในการสงบระงับประสาทส่วนกลาง น้ำมันมะลิ น้ำมันสะระแหน่ น้ำมันกระเพรา น้ำมันกานพลู และน้ำมันกระดังงา มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท

8. จิตใจน้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลทางด้านจิตใจมาช้านานแล้ว นับตั้งแต่การใช้ในศาสนพิธีและพิธีกรรมต่าง ๆ




เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่ากลิ่นมีผลต่อสมองและอามณ์ผลของกลิ่นมีต่อบุคคลขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการดังนี้


- วิธีที่ใช้
- ปริมาณที่ใช้
- สภาวะที่กำลังใช้อยู่
- สภาวะของบุคคลที่ใช้ (อายุ เพศ บุคคลิก)
- อารมณ์ในขณะที่จะใช้
- ความรู้สึกในอดีตเกี่ยวกับกลิ่นที่จะใช้
- ความไม่รับรู้ต่อกลิ่นบางอย่าง

ดังนั้นเราต้องจัดกลิ่นให้เหมาะกับผู้ใช้น้ำมันหอมระเหยสามารถแสดงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติกับความต้องการของบุคคล กุหลาบ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะดอกกุหลาบเองก็หมายถึง ความงาม ความรักและทางด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับนิยายและศาสนา แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกนำไปใช้รักษาเกี่ยวกับผิวหนัง คุมประจำเดือนเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดบริสุทธิ์ และบำรุงหัวใจดังนั้นเมื่อเราได้กลิ่นกุหลาบก็จะเชื่อมโยงเราไปสู่ความสัมพันธ์เหล่านี้ซึ่งจะมีผลต่อจิตใจ และตามมาด้วยผลต่อร่างกายซึ่งผลเหล่านี้ ได้ถูกครอบคลุมอยู่ในจิตใจของเขาอยู่แล้ว






การใช้น้ำมันหอมระเหยที่บ้าน(2), (3)
เลือกให้เหมาะกับสภาพและอารมณ์ของคนไข้ ผสมกับน้ำมันอื่น เช่น น้ำมันแอลมอนด์หรือน้ำมันเมล็ด องุ่น ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ใช้อยู่ระหว่าง 1-3 % ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการแต่ต้องให้แน่ใจว่า น้ำมันได้ถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและเข้าสู่กระแสโลหิต โดยหลักทั่ว ๆ ไป โรคปวดในข้อ หรือ อาหารไม่ ย่อย ต้องใช้ความเข้มข้นมากกว่าโรคที่เกี่ยวกับอารมณ์และประสาทการนวดด้วยตัวเองต้องนวดเป็น จุดไปโดยเฉพาะ เท้า มือ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ทำให้ไม่สบายเช่นนวดท้องตามเข็มนาฬิกาด้วย น้ำมันสะระแหน่ที่เจือจางแล้ว เพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร ใช้นิ้วมือนวดเบา ๆ เป็นวงกลมก็เป็นการเพียงพอที่จะให้น้ำมันซึมซาบเข้าผิวหนัง น้ำมันกุหลาบเหมาะกับผิวหนังที่แห้ง หรือเหี่ยวย่น น้ำมันมะกรูดหรือน้ำมันมะนาวช่วยรักษาสิวและผิวหน้าที่มันมาก น้ำมันหอมระเหยสองสามหยดผสมกับครีมหรือโลชั่นธรรมดา หรือเติมไปกับที่พอกหน้าเช่น ข้าวโอ้ต น้ำผึ้งหรือ ดิน กับผลไม้ต่าง ๆ ในบางกรณี เช่น ติดเชื้อเฮอร์ปีส์ หรือน้ำกัดเท้าควรใช้โลชั่นที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอลล์มากกว่าครีม โดยนำน้ำมัน หอมระเหย 6 หยดผสมกับไอโซโปรปิลแอลกอฮอลล์หรือเหล้าวอดก้า 5 ซีซี ทำให้เจือจางด้วยน้ำต้มเดือด และทิ้งให้เย็น 1 ลิตร ได้ผลดีต่อการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อลดการปวดหรืออักเสบ การประคบร้อน ทำโดยเทน้ำร้อนจัด ๆ ลงในอ่าง เติมน้ำมันหอมระเหย 4-5 หยด เอาผ้าที่พับแล้วจุ่มลงไป บีบน้ำออกพอ หมาด ๆ วางลงบนส่วนที่ต้องการจนรู้สึกผ้าเย็นก็ทำซ้ำวิธีนี้มีประโยชน์ต่อการปวดหลัง ปวดตามข้อและ กระดูก บวม ปวดหู และปวดฟัน การประคบเย็น วิธีการเช่นเดียวกันแต่ใช้น้ำเย็นแทนน้ำร้อนเหมาะสำหรับโรคปวดศีรษะ เคล็ด เครียด และการบวมอักเสบ วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการบำรุงผม ก็คือ ใช้น้ำมันหอมระเหยประมาณ 3% ผสมกับน้ำมันมะกอกกับโจโจบา หรือน้ำมันแอลมอนด์ นวดให้ซึมหนังศีรษะ และห่อด้วยผ้าขนหนูอุ่น ๆ ประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง น้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันแคโมมิลล์ ช่วยปรับสภาพและทำให้ผมงอก น้ำมันลาเวนเดอร์ช่วยไล่เหา น้ำมันมะกรูดช่วยคุมรังแค การใช้ที่เผาน้ำมันหรือที่กระจายกลิ่นหอมเป็นวิธีที่ดีที่จะให้ห้องมีกลิ่นหอมแทนการใช้ธูปหอม ซึ่งก่อให้เกิดฝุ่นหรือควันแต่ต้องวางในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง อาจจะหยดน้ำมัน หอมระเหย ลง 5-10 หยดที่ขอบโป๊ะหลอดไฟฟ้าหรือหยดลงในชามน้ำที่วางบนเครื่องที่ให้ความร้อน น้ำมันตะไคร้หรือตะไคร้หอมใช้ไล่แมลงและขจัดกลิ่นของบุหรี่ น้ำมันกำยาน หรือน้ำมันยูคาลิปตัสใช้ ในห้องนอนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการหายใจขัดหรือแก้ไอในเด็ก อาจใช้อบหน้าได้ โดยใช้น้ำมันมะนาวแทนซึ่งจะช่วยเปิดรูที่อุดตันและลบริ้วรอยบนใบหน้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยสามารถถูกดูดซึมเข้าในร่างกายได้ง่ายจึงมีผลต่ออวัยวะภายใน โดยการใช้ภายนอก ในกรณีที่เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งเกิดจากการสะสมสารพิษที่ข้อต่อ การใช้น้ำมันบางชนิด เช่น น้ำมันไพล น้ำมันนิเปอร์ หรือน้ำมันเบิร์ชสามารถไปชำระล้างพิษ และในขณะเดียวกันก็ลดการปวดและอักเสบได้
ปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่หาวิธีที่จะรักษาสุขภาพของตนเองโดยปรับตัวเองไปสู่ธรรมชาติมากที่สุดAromatherapy เป็นวิธีหนึ่งที่เขาจะดูแลสุขภาพของตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งหมอนอกจาก นี้ยังมี Aroma Technology โดยใช้เครื่องมือควบคุมการปล่อยเครื่องหอมเพื่อให้บรรยากาศดีหรือเพื่อฆ่าเชื้อตามบ้าน สำนักงานโรงแรม ฯลฯ (3-5)
บำบัดรักษาทางธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจึงมีผู้นำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ประโยชน์ในการรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยผ่านการศึกษาค้นคว้ามาแล้วหลายช่วงเวลา สั่งสมให้คุณค่า ความรู้ทางด้าน Aromatherapy มีสูงมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะได้นำผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มาสนับสนุนข้อมูลที่มีมาแต่เดิม และเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ Aromatherapy ในการนำมาบำบัดรักษามากยิ่งขึ้น



ดร. ประคองศิริ บุญคง ส่วนวิจัยอุตสาหกรรมเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ- โสมนภา พรายงาม วิจัย เภสัชเคมีภัณฑ์ หนังสืออ้างอิง
1. วนิดา จิตต์หมั่น และ ทวีศักดิ์ สุวคนธ์ กลยุทธ์คลายเครียด เอกสารการประชุมวิชาการเภสัชกรรม ชุมนุม ครั้งที่ 17 ระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2541.2. ลลิตา วีระเสถียร. 2541. การบำบัดด้วยความหอม. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร. 2541; 23(1): 52-57. 3. Lawless J. The Encyclopaedia of Essential Oil. Barnes & Noble Inc, 1995: 226.4. Peltier M. DCI. 1998; 162(3): 22-24.5. Buckle J. Aromatherapy. Nursing time. 1993; 89(2): 32-35. 6. Anon N-Z-Pharm 1993; 13: 9-10.7. http://www.aromaweb.com

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551

วิธีการใช้ ผงสุนไพรอมฤต

อมฤตผงสมุนไพรอบตัวเหมาะแก่การใช้ในการอบตัวแบบเข้ากระโจม
การเข้ากระโจม
สมัยก่อนการเข้ากระโจมทำจากโครงซี่ไม้ไผ่มีลักษณะคล้ายมุ้งประทุน หรืออาจใช้สิ่งอื่นที่มีอยู่ใน ครัวเรือน ที่ตั้งกระโจมจะตั้งเอาหม้อต้มฝังท่อกระบอกไม่ไผ่สอดขึ้นไปใน กระโจมการทำวิธีนี้ ต้องมีคน คอยควบคุม


การเข้ากระโจมเป็นการ อบไอน้ำร่วมกับการใช้สมุนไพร การเข้ากระโจมจะช่วยขับเหงื่อ และ ชำระร่างกาย ปัจจุบันมีกระโจมขายในราคาไม่แพงเหมาะแก่การซื้อหามาใช้


อบตัวโดยใช้กระโจมก็ ได้บรรยากาศแบบไทยเดิมดีนะครับ






เหมาะแก่การใช้ในการอบไอน้ำสมุนไพรโดยตู้อบไอน้ำ
ใช้กับตู้อบสมุนไพร
ปัจจุบันมีการจำหน่ายตู้อบสมุนไพรในราคาที่พอซื้อหามาไว้ใช้ได้
ภายในตู้อบจะมีหม้อต้มน้ำ ให้ใส่น้ำสะอาดค่อนหม้อเมื่อน้ำเดือด
ใส่สมุนไพรบดละเอียด อมฤต 1-2 ช้อนโต๊ะทันที

ทันทีที่ใส่สมุนไพร น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรจะระเหยมาพร้อม
ไอน้ำทันที ทำให้ไม่ต้องรอนานเหมือนการต้มสมุนไพรแบบเป็นชิ้น
(อีกทั้งสมุนไพรแบบที่บดละเอียดจะปล่อยน้ำมันหอมระเหยในปริมาณที่มากกว่าแบบอบแห้งเป็นชิ้นกว่าหลายเท่า)

บางท่าน ในช่วงแรกอาจรู้สึกแสบตาหรือหายใจไม่ค่อยสะดวก อาจใช้วิธีค่อย ๆใส่สมุนไพรทีละนิด อบนานครั้งละ 5 นาที สามช่วง หรืออบนาน 10 นาที
หลังจากออกจากตู้อบให้ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำผลไม้ ชดเชยเหงื่อที่สูญเสียไป อบได้ทุกวันใช้เวลาไม่นานอีกทั้งทำความสะอาดหม้อก็ไม่ยาก หากใช้ต่อเนื่อง ไม่ต้องเทน้ำสมุนไพรเก่าทิ้ง ในครั้งต่อไปให้เติมน้ำสะอาดและสมุนไพรและสมุนไพรอมฤตได้เลย หรือจะนำส่วนที่เหลือมาแช่เท้าก็ได้นะครับ
ประโยชน์สูง ประหยัดสุด


เหมาะแก่การแช่เท้าสมุนไพร (สปาเท้า)


ใช้น้ำน้ำอุ่นจัดเติมสมุนไพรผง อมฤตประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แช่นานกว่า 5 นาทีขึ้นไป พยายามค่อย ๆเพิ่มความร้อน (ระวังอย่าให้ร้อนจนผิวเท้าพองเอาประมาณเราพอทนได้) ด้วยความร้อนของน้ำนะช่วยผ่อนคลายจุดสำคัญต่าง ๆบนฝ่าเท้า อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้สมุนไพรปล่อยน้ำมันหอมระเหยออกมา

การแช่เท้าในน้ำอุ่นสมุนไพรจะช่วยทำความสะอาดผิวเท้า ขจัดกลิ่นอับ กลิ่นชื้น รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาตามซอกเล็บ ช่วยในการขจัดเชื้อแบคทีเรียอันเป็นตัวปัญหาที่ก่อให้เกิดกลิ่นเท้าเหม็น รวมทั้งกลิ่นของตะไคร้หอมจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ระหว่างที่แช่เท้าอยู่นี้ อาจทำการนวดกดจุดที่ศีรษะและต้นคอเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปด้วย หากมีคนใกล้ชิดก็ใช้เขาช่วยบีบนวดก็ได้นะครับ หลังจากที่แช่เท้าในน้ำอุ่นแล้วให้แช่ในน้ำเย็นทันทีเพื่อปิดรูขุมขนแต่ไม่ต้องล้างสมุนไพรรออกนะครับ เช็ดให้แห้งแล้วทาโลชั่น หรือน้ำมันเพื่อบำรุงผิวเท้าตามชอบ










อมฤตผงสมุนไพรอบตัว http://amaritta.blogspot.com/

มีจำหน่ายแล้วที่ ร้านแด่ชีวิตสนใจติดต่อสั่งซื้อได้ในราคาขายส่ง 6 ซอง ราคา 132 บาท (ตกซองละ22 บาท) ราคาไม่รวมค่าจัดส่งผู้จัดจำหน่าย บริษัทแด่ชีวิตจำกัด โทร 02 7336670

บริษัทแด่ชีวิต(แด่ชีวิตไร้สารพิษ)ยังมีสินค้าเพือสุขภาพ อีกหลากหลายชนิตอาทิ โปรตีนเกษตร อาหารเสริม ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่ว งา ยาสมุนไพร ฯลฯ จำหน่ายในราคาขายส่ง เหมาะสำหรับเอเย่นรับไปขายปลีก หรือ ซื้อเก็บไว้อุปโภค บริโภคเอง ราคามิตรภาพทั้งนั้น เพราะร้านนี้เน้นเศรษฐกิจพอเพียง

บริษัทแด่ชีวิต ตั้งอยู่ที่ ถนนนวมินทร์ 48 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ จำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพจัดส่งทั่วประเทศ
รถเมล์ที่วิ่งผ่าน 71 60 95 96 178 ปอ.21 ปอ.60
โทรสอบถามก่อนมาได้ เปิดบริการ วันอังคาร - วันอาททิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์)


สนใจสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณท์ หรือต้องการสั่งซื้อในปริมาณมากกว่า 20 โหล ติดต่อ temfar@gmail.com
fullsky@gmail.com

การอบตัวด้วยสมุนไพร

การอบสมุนไพร
การอบสมุนไพร คือ การอบตัวด้วยไอน้ำที่ได้จากการต้มสมุนไพร เป็นวิธีการบำบัดอย่างหนึ่งซึ่งเริ่มต้นจากประสบการณ์การนั่งกระโจมของผู้หญิงหลังคลอด โดยใช้ผ้าทำเป็นกระโจม หรือนั่งในสุ่มไก่ที่ปิดคลุมไว้มิดชิดโดยมีหม้อต้มสมุนไพรที่เดือดพวยพุงไอน้ำสมุนไพรออกมาเพื่อให้ผิวหนังได้สัมผัสกับไอน้ำสมุนไพร และยังสามารถสูดดมไอน้ำสมุน
ไพรได้ด้วย ซึ่งช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำให้สดชื่นผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล จึงเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน


การอบตัว มี 2 แบบ คือ
1. การอบแห้ง หรือเรียกทับศัพท์ว่า " เซาว์น่า " ซึ่งคล้ายคลึงกับการอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดของไทย การอบแห้งเป็นการอบโดยอาศัยความร้อนที่ได้จากถ่านหินบนเตาร้อน ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในต่างประเทศ
2. การอบเปียก เป็นวิธีการอบที่คนไทยเรานิยม และมีการแพร่หลายมากในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนามาจากการอบแบบเข้ากระโจมมาเป็นห้องอบไอน้ำสมุนไพรที่ทันสมัยขึ้น ซึ่งสามารถให้บริการได้คราวละหลาย ๆ คน โดยใช้หม้อต้มสมุนไพรที่มีท่อส่งไอน้ำสมุนไพรเข้าไปภายในห้องอบ

การอบตัวด้วยความร้อนนั้น นับเป็นวิธีการที่ทางแพทย์แผนปัจจุบันให้การยอมรับว่าสามารถช่วยให้การไหลเวียนของโลหิต น้ำเหลืองบริเวณผิวหนังดีขึ้น ส่วนไอน้ำของสมุนไพรจะมีสรรพคุณตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น

สมุนไพรที่ใช้ในการอบ ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับความสะดวกในการหาในท้องถิ่น การนำเอาสมุนไพรสดเพื่อนำมาใช้ในการอบ ไม่จำกัดชนิดอาจเพิ่มหรือลดชนิดของสมุนไพรตามความต้องการในการใช้ประโยชน์ และความยากง่ายในการจัดหา จะเลือกใช้สมุนไพรแห้งก็ได้ โดยยึดหลักสมุนไพรที่ใช้ในการอบ 4 กลุ่ม ดังนี้
1. สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ไพล ขมิ้น ผิวมะกรูด ในสมุนไพรเหล่านี้จะมีสาระสำคัญ คือ นำมันหอมระเหย ที่มีสรรพคุณและประโยชน์ในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ คือ อาการคัดจมูก ปวดเมื่อย เวียนศีรษะ และโรคผิวหนังบางชนิด ควรทำการเปลี่ยนสมุนไพรทุกวัน มิฉะนั้นสมุนไพรอาจเน่าทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้
2. สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว เช่น ใบมะขาม ใบและฝักส้มป่อย ในสมุนไพรกลุ่มนี้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก บำรุงผิวพรรณ เพิ่มความต้านทานโรคให้แก่ผิวหนัง
3. สมุนไพรที่เป็นสารประกอบที่ระเหิดได้ เมื่อผ่านความร้อนแล้วจะมีกลิ่นหอม เช่น การบูร พิมเสน ช่วยรักษาอาการหวัด คัดจมูก
4. สมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรคและอาการ เช่น สมุนไพรแก้ปวด
ได้แก่ เถาวัลย์เปรียง ไพล เถาเอ็นอ่อน เป็นต้น


โรคหรืออาการที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการอบสมุนไพร
1. โรคภูมิแพ้ที่ไม่รุนแรง
2. เป็นหวัด น้ำมูกไหล แต่ไม่มีการแห้งตันของน้ำมูก
3. อัมพฤกษ์ อัมพาต ในระยะเริ่มแรก
4. ปวดเมื่อยตามร่างกายทั่วๆไป หรือโรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บป่วย เฉพาะที่ มีการเจ็บป่วยหลายตำแหน่ง
5. เป็นโรคหอบหืด ในระยที่ไม่มีอาการรุนแรง
6. การอบตัวของมารดาหลังคลอดบุตร เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพ
7. โรค หรือ อาการบางอย่าง เช่น การยอก โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ อาจต้องใช้การอบสมุนไพรร่วมกับการรักษาอื่น ๆ เช่น ประคบสมุนไพร นวดบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม


ประโยชน์จากการอบตัวด้วยสมุนไพร
1. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
2. ช่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
3. ช่วยให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากขึ้น และขยายรูขุมขน
4. ช่วยให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น ช่วยละลายเสมหะทำให้ขับออกง่าย
5. ช่วยลดการอักเสบและบวมที่เยื่อบุทางเดินหายใจตอนบน
6. ช่วยลดการระคายเคืองในลำคอ
7. ช่วยให้สบายตัว ลดอาการปวดศีรษะ


ข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร
1. ขณะที่มีไข้สูง มากกว่า 3 8 องศาเซลเซียส เพราะอาจมีการติดเชื้อโรคต่าง ๆ
2. มี ความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืดห้ามอบสมุนไพร
3. มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืด ในระยะรุนแรง
4. สตรีขณะมีประจำเดือน โดยเฉพาะถ้ามีไข้และอาการปวดศีรษะด้วย
5. มีการอักเสบจากบาดแผลต่าง ๆ
6. ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือผู้ที่รับประทานอาหารอิ่ม ยังไม่ครบ 1 ชั่วโมง

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2551

อมฤต ผงสมุนไพรอบตัว (แนะนำสินค้า)

อมฤตผงสมุนไพรอบตัวเหมาะสำหรับ


ใช้ร่วมในการบำบัด ผ่อนคลาย

ด้วยการ อบไอน้ำสมุนไพร
อาบน้ำอุ่นสมุนไพร
แช่เท้าสมมุนไพร

ผ่อนคลายด้วยสมุนไพร สร้างความสุข

แบบสปาสมุนไพรด้วยตนเอง





ขนาดบรรจุ ซองละ50กรัม เป็นผงละเอียด กลิ่นหอมสดชื่นจากสมุนไพร
สิบกว่าชนิด สูตรเฉพาะของอมฤต

ราคาขายปลีก 45 บาท

มีจำหน่ายแล้วที่ ร้านแด่ชีวิต
สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ในราคาขายส่ง 6 ซอง ราคา 132 บาท (ตกซองละ22 บาท) ราคาไม่รวมค่าจัดส่ง
ผู้จัดจำหน่าย บริษัทแด่ชีวิตจำกัด โทร 02 7336670

บริษัทแด่ชีวิต(แด่ชีวิตไร้สารพิษ)ยังมีสินค้าเพือสุขภาพ อีกหลากหลายชนิตอาทิ โปรตีนเกษตร อาหารเสริม ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ถั่ว งา ยาสมุนไพร ฯลฯ จำหน่ายในราคาขายส่ง เหมาะสำหรับเอเย่นรับไปขายปลีก หรือ ซื้อเก็บไว้อุปโภค บริโภคเอง ราคามิตรภาพทั้งนั้น เพราะร้านนี้เน้นเศรษฐกิจพอเพียง

บริษัทแด่ชีวิต ตั้งอยู่ที่ ถนนนวมินทร์ 48 เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ จำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพจัดส่งทั่วประเทศ

รถเมล์ที่วิ่งผ่าน 71 60 95 96 178 ปอ.21 ปอ.60

โทรสอบถามก่อนมาได้ เปิดบริการ วันอังคาร - วันอาททิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์)